ทุนวัฒนธรรม ลำดับที่ 30: งานโฮ้ลโต๊ะกีแซะห์
ชุมชนมุสลิมภูเขาทองจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นกลุ่มทางศาสนาอิสลามแนวทางซูฟีกลุ่มย่อยสายหนึ่งในประเทศไทยเรียกว่า “กอดิรียะฮ์” ซึ่งมีหลักการและแนวทางปฏิบัติแตกต่างจากมุสลิมส่วนใหญ่ทั่วไปโดยเน้นการให้ความสำคัญกับผู้นํากลุ่มคือแช็คมุอัมหมัดอาลีซุกรีย์หรือ “โต๊ะกีแซะฮ์” ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงระหว่างพ.ศ. 2391 – 2475 อย่างไรก็ตามชีวประวัติของโต๊ะกีแซะฮ์ที่มีการบันทึกไว้ล้วนมาจากคําบอกเล่าของสานุศิษย์ซึ่งมีความเชื่อและความศรัทธาต่อโต๊ะกีแซะฮ์ในฐานะบุคคลศักดิ์สิทธิ์เรื่องราวในบันทึกจึงมักเป็นเหตุการณ์ที่คลุมเครือมากกว่าที่จะระบุอย่างชัดเจนตรงไปตรงมาได้อย่างไรก็ตามจากแนวทางของกลุ่มที่ให้ความสำคัญต่อผู้นําเป็นอย่างมากได้สะท้อนผ่านพิธีกรรมและความเชื่อหลักเฉพาะกลุ่มที่จัดขึ้น 4 งานใน 1 ปีโดยมีขบวนแห่คานหามของโต๊ะกีแซะฮ์ เป็นสัญลักษณ์ที่โดดเด่นแตกต่างจากชาวมุสลิมกลุ่มอื่น และเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ปรากฏในทุกพิธีกรรมทั้งนี้ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบันพิธีกรรมและความเชื่อเกี่ยวกับโต๊ะกีแซะฮ์ของกลุ่มชาวมุสลิมภูเขาทองได้มีบทบาทหน้าที่สำคัญในการตอบสนองต่อบุคคลที่ต้องเผชิญกับความผันผวนในการดำรงชีวิตในปัจจุบันและยังช่วยให้เกิดการเชื่อมโยงภายในกลุ่มเครือญาติชาวมุสลิมภูเขาทองและเครือข่ายสานุศิษย์กอดิรียะฮ์ในหลายพื้นที่ได้กลับมารวมตัวกันโดยมีแช็คมุฮัมหมัดอาลีซุกรีย์เป็นศูนย์รวมจิตใจของทุกคน
งานโฮ้ลโต๊ะกีแซะห์ เป็นประเพณีประจำท้องถิ่นของชุมชนมุสลิม หมู่ 2 ในตำบลภูเขาทอง ที่จะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในช่วงวันที่ 15 ของเดือนซุลอิจญะฮ์ (เดือนที่ 12 ตามปฏิทินอิสลาม) ซึ่งเป็นวันครบรอบการเสียชีวิตของ “โต๊ะกีแซะห์” หรือนามเต็มว่า เช็ค มะหะหมัดอาลี ซุกรี บิน อุสมาน ผู้นำคนสำคัญ ผู้เผยแพร่แนวทางสายกอดิรียะห์ของมุสลิมภูเขาทอง ในพิธีจะมีการแห่คานหามของโต๊ะกีฯ จากมัสยิดอาลียิดดารอยน์ไปยังมัสยิดตะเกี่ยโยคิณซึ่งอยู่ทางด้านใต้ของเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา ซึ่งต้องล่องไปตามลำน้ำเจ้าพระยาประมาณ 10 กิโลเมตร เดิมนั้นการจัดงานโฮ้ลโต๊ะกีแซะห์ของมุสลิมภูเขาทอง เป็นการจัดงานทำบุญครบวันตายให้กับโต๊ะกีฯ เป็นเพียงงานเล็กๆ ภายในครอบครัว แต่ต่อมาลูกศิษย์และผู้เลื่อมใส ได้นำข้าวปลาอาหารมาร่วมทำบุญด้วย ทำให้ขอบเขตของงานเริ่มขยายมากขึ้น และกลายเป็นงานใหญ่ที่ทำสืบเนื่องกันมาทุกปี
งานโฮ้ลของโต๊ะกีฯ จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีที่บ้านของโต๊ะฯ ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา โดยมีการจัดต่อเนื่องกันถึง 3 วัน 3 คืน โดยเริ่มงานตั้งแต่นำธงชาติ และธงกะลิเมาะห์ของมัสยิดภูเขาทองขึ้นสู่เสา เป็นสัญลักษณ์ของการเปิดงานพิธี จากนั้นนำสำรับอาหารเพื่อการจัดเลี้ยง พร้อมกล่าวสรรเสริฐท่านศาสดา (เศาะ-ละวาต) และนำประวัติโต๊ะกีฯ มาอ่าน เพื่อเป็นการนึกถึงพระคุณของครูอาจารย์ และมีมหรสพประกอบงาน


วันที่สอง จะมีการแก้เหนียต หรือการบนบานยังอัลเลาะห์ของผู้ที่เหนียตไว้ ซึ่งมีการนำลิเก หรือมหรสพต่างๆ มาเล่นตามที่ได้บนบานไว้ แล้วมีการกล่าวสรรเสริญท่านศาสดา และขอลุแก่โทษเพื่อผู้วายชนม์ หลังนมาซยามพลบค่ำแล้วจึงกลับไปพักผ่อน เมื่อถึงเวลาประมาณ 08.00 น. มีการเลี้ยงอาหารแก่ผู้มาร่วมงาน ก่อนนำคานหามออกมาตั้งยังศาลาเลี้ยงที่มัสยิด โดยมีผู้มาร่วมงานกันอย่างคับคั่ง เนื่องจากมีการแห่คานหามเพื่อไปเคารพและเยี่ยมสถานฝังศพท่านหยา หรือเช็คอับอุลเลาะห์ กิบนี อิบรมฮิม ที่มัสยิดตะเกี่ยฯ ซึ่งเป็นผู้รู้ด้านศาสนาที่มีชีวิตอยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งโต๊ะกีฯ ได้ยกย่องให้ท่านเป็นครู ให้ความเคารพนับถือ และมักไปสนทนาธรรมด้วยกันอยู่เสมอเมื่อครั้งที่ทั้งสองท่านยังมีชีวิตอยู่ คานหาม ดังกล่าว จะถูกประดับประดาด้วยผ้าดำที่เขียนคำสอนของโต๊ะกีฯ อันเป็นปริศนาธรรมต่างๆ ให้ผู้มาร่วมงานได้รำลึก และขบคิดถึงความหมาย ภายในงานยังมีการตกแต่งด้วยดอกซ่อนกลิ่น ซึ่งเป็นดอกไม้ที่โต๊ะกีฯ เห็นว่ามีความหมายซ่อนอยู่ จนเกิดเป็นเพลงซ่อนกลิ่นที่ใช้ในการขับลำนำ นอกจากนี้ในงานโฮ้ล ยังมีการนำดนตรีมาประกอบขบวนแห่งคานหามโต๊ะกีฯ ด้วย เมื่อขบวนแห่จากมัสยิดอาลียิดดารอยน์ เดินทางถึงมัสยิดตะเกี่ยโยคิณ แล้ว ก็จะมีการนำคานหามเวียนรอบแท่นเหนือหลุมศพ (มะก่อม) ของเจ้าคุณตะเกี่ย และเจ้าคุณหยา ครบ 7 รอบ จากนั้นทำอิซิกุโบร์ ขออุอาร์ (สวดวิงวอนจากอัลเลาะห์ต่อผู้วายชนม์) ก่อนจะแห่คานหามกลับสู่ภูเขาทอง
ในคืนสุดท้ายของงาน มีการนำคานหามแห่เวียนรอบมัสยิด และแท่นเหนือหลุมศพของโต๊ะกีฯ โดยผู้ที่เข้าร่วมงาน จะจุดเทียนเวียนรอบสถานฝังศพ เพื่อเป็นการขอบาเราะห์กะฮ์ (ความโปรดปรานจากอัลเลาะห์) สวดดุอาร์ ก่อนนำคานหามกลับไปตั้งยังศาลาเลี้ยง จนหลังนมาซยามพลบค่ำ จะกลับมาร่วมอ่านบทสรรเสริญอัลเลาะห์และท่านศาสดามะหะหมัดอีกรอบไปจนถึงเช้า และสิ้นสุดงานด้วยการจัดเลี้ยงอาหารร่วมกัน


ความเชื่อและความศรัทธาต่อโต๊ะกีแซะฮ์ โต๊ะกีแซะฮ์หรือแช็คมุฮัมหมัดอาลีซุกรีย์ได้รับการนับถือจากบรรดาสานุศิษย์ตั้งแต่เมื่อไหร่นั้นในชีวประวัติไม่ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนทว่าท่านน่าจะยังไม่ได้มีสถานะศักดิ์สิทธิ์ที่ถูกยกขึ้นเป็นแช็คมุฮัมหมัดอาลีซุกรีย์ตั้งแต่แรกในทันทีแนวทางการเผยแพร่คําสอนของโต๊ะกีแซะฮ์เป็นแนวทางที่ให้ความสําคัญต่อครูผู้เผยแผ่คําสอนมากเป็นพิเศษสานุศิษย์ต่างให้คําอธิบายว่าโต๊ะกีแซะฮ์เป็น “วลียุลเลาะฮ์” ซึ่งหมายถึงผู้ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบจนมีฐานะใกล้ชิดเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าซึ่งอาจเปรียบเทียบได้กับเซนต์หรือนักบุญในศาสนาคริสต์แต่วลียุลเลาะฮ์นี้ยังหมายถึงผู้ที่ยึดมั่นในหลักศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัดจึงได้รับพรจากพระเจ้าให้มีความสามารถเหนือมนุษย์ทั่วไปดังที่สานุศิษย์ต่างเชื่อในพลังอํานาจเหนือธรรมชาติต่างๆของโต๊ะกีแซะฮ์เช่นสามารถหยั่งรู้อนาคตล่วงหน้าทําสิ่งที่คนทั่วไปทําไม่ได้สําเร็จและเป็นสื่อกลางในการสวดขอต่อพระเจ้าได้เป็นต้นดังที่สานุศิษย์กอดิรียะฮ์ได้อธิบายไว้ว่า
“ครั้งหนึ่งท่านแช็คมูฮัมหมัดอาลีซุกรีย์เคยเดินทางไปพํานักอยู่ที่สังเวชนียสถาน (มะกั่ม) ของท่านอิหม่ามชาฟีอีย์ผู้นํามัซฮับของเราณเมืองมุเซรประเทศอียิปต์เพื่อจาริกแสดงบุญและศึกษาเป็นที่ยอมรับกันมาแต่ครั้งบรรพกาลว่าผู้หนึ่งผู้ใดก็ตามที่ได้พํานักอยู่ณสังเวชนียสถาน (มะกั่ม) ของท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ได้ถึง 40 วันศุกร์โดยไม่มีอุปสรรค (อุโซร) หรือการเจ็บไข้ได้ป่วยแล้วไซร้นับว่าผู้นั้นได้รับการสถาปนาฐานันดรศักดิ์จากเอกองค์อัลเลาะฮ์เจ้าให้ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (วลียุ้ลเลาะฮ์)…สําหรับท่านแช็คอาลีซุกรีย์ (โต๊ะกีแซะฮ์) ท่านไม่เพียงไปพํานักอยู่เพียง 40 ศุกร์เท่านั้นทว่าท่านไปพํานักอยู่ถึง 7 ปีโดยไม่มีอุปสรรคและอาการเจ็บไข้ได้ป่วยใดๆมากล้ำกรายเลยแม้แต่น้อยแสดงว่าท่านได้รับการสถาปนาจากเอกองค์อัลเลาะฮ์เจ้าให้ดํารงตําแหน่งผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ (วลียุ้ลเลาะฮ์) โดยมีบุญญาภินิหาร (การอมัต) เป็นเครื่องบ่งชี้” (Kodiriyah Disciple n.d.: 14)