ทุนวัฒนธรรม ลำดับที่ 20: การแกะสลักไม้
งานแกะสลักไม้ ถือว่าเป็นงานศิลปกรรมที่เก่าแก่ประเภทหนึ่ง สำหรับการแกะสลักไม้ในประเทศไทย แต่เดิมนั้นส่วนมากเป็นด้านศาสนาตัวอย่างเช่น งานแกะสลักไม้ประกอบโบสถ์ วิหาร ศาลาวัด หอพระไตรปิฎก ตู้พระไตรปิฎก พระเจดีย์ เป็นต้น งานช่างแกะสลักเป็นงานช่างไทยที่มีมาแต่โบราณ งานศิลปกรรมที่เกี่ยวกับการแกะสลักไม้ในยุคก่อนมักรวมเรียกว่าเครื่องไม้จำหลัก นับได้ว่าเป็นงานศิลปะไทยที่อยู่เคียงคู่กับชาติไทยมาช้านาน ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ แต่ไม้เป็นวัตถุที่เสื่อมสลาย
ดังนั้น ศิลปะที่ทำด้วยไม้ตังกล่าวจึงไม่เหลือให้เป็นหลักฐานในปัจจุบัน การแกะสลักไม้นั้นเป็นการสรรค์สร้างอย่างสวยงามและประณีตบรรจง ปรากฏอยู่ทุกสมัย และทุกภูมิภาคของประเทศไทย มีช่างแกะสลักที่มีฝีมือ ได้สร้างสรรค์ผลงานขึ้นมาเป็นจำนวนมาก ช่างแกะสลักไม้ในอดีตนั้นได้มีการสืบทอด ศิลปะ วัฒนธรรมมาจากบรรพบุรุษ และภูมิปัญญาท้องถิ่นของแต่ละชุมชนลงบนแผ่นไม้ อาทิเช่น ศิลปะไม้แกะสลักของล้านนา เป็นงานศิลปะที่เก่าแก่ มีเอกลักษณ์และมีคุณค่า ถือเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมล้านนาที่สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อ ค่านิยม ประเพณี วิถีชีวิตของชาวล้านนา ที่ผูกพันอยู่กับธรรมชาติ จึงนับได้ว่าเป็นภูมิปัญญาที่สั่งสมมาเป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเป็นการประณีตในการแกะสลัก
การบอกเล่าวัฒนธรรม ประเพณี การดำเนินชีวิตผ่านลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์


การแกะสลักไม้นั้นขั้นตอนส่วนใหญ่มักทำด้วยมือ มีเพียงการใช้เอยยนต์ตัดไม้แค่ตอนเริ่มต้นเท่านั้น จากนั้นจึงใช้สิ่ว ขวาน และมีด ในการแกะสลัก ไม่มีการใช้เครื่องทุ่นแรงอื่นๆ อีก ทำให้การแกะสลักไม้แต่ละขึ้นต้องใช้เวลานาน รวมถึงต้องใช้ฝีมือและความชำนาญของช่างสูงมากกระบวนการแกะสลักเป็นขั้นตอนที่ช่างนำเครื่องมือต่างๆ มากระทำการ ตัด ขุด ทอน เจาะ ถากหรือปรับขนาดไม้ ซึ่งช่างจะต้องใช้ความประณีต
อีกทั้งยังต้องมีความรู้เกี่ยวกับลักษณะของสิ่งที่จะแกะสลัก เนื่องจากลวดลายแต่ละอย่างนั้นจะมีรายละเอียดที่ไม่เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น ลายช้าง ลายพญานาค ก็จะแตกต่างกันไป แม้แต่ช้างเองก็ยังมีหลากหลาย ดังนั้น ช่างแกะสลักจึงนิยมออกแบบไว้ก่อน โดยดูเนื้อไม้ที่จะนำมาแกะสลักควบคู่ไปด้วย โดยความรู้ที่ใช้ในการดูเนื้อไม้ไม่ว่าจะเป็นทางของเนื้อไม้ ขนาด ความหนาของไม้ก็เป็นความรู้ที่จำเป็นที่จะใช้ในการออกแบบลวดลายต่างๆ นอกจากนี้ ยังต้องรู้เทคนิค และวิธีการใช้เครื่องมือเพื่อเวลาแกะสลักไม้จะได้ผลงานที่เป็นไปตามลวดลายที่ออกแบบไว้ ทำให้งานที่ออกมานั้นมีความสวยงาม




ในส่วนของขั้นตอนการแกะสลักไม้เริ่มต้นที่การกำหนดลวดลายที่ต้องการ ช่างแกะสลักจะทำการออกแบบหรือกำหนดลวดลาย โดยจะทำการวาดลงในกระดาษแล้วนำมาทาบลาย หรือวาดด้วยปากกาเขียนไม้ที่ตัวไม้โดยตรง ซึ่งช่างจะมีหลักการในการออกแบบ คือ เลือกไม้ที่เหมาะสมสำหรับลวดลายที่ต้องการ โดยการพิจารณาไม้นั้นจะใช้การพิจารณาหลากหลาย เช่น ทางไม้หรือเสี้ยนไม้ ลวดลายไม้ สีของไม้ เป็นต้น ขั้นตอนต่อไปเป็นการถ่ายแบบลวดลายลงบนเนื้อไม้ เป็นการนำแบบที่ออกแบบไว้มาเขียนลงบนเนื้อไม้ หลังจากนั้นเป็นการขึ้นรูป ช่างแกะสลักไม้ทำการตัดเนื้อไม้ด้วยเลื่อย ซึ่งอาจเป็นเลื่อยไฟฟ้า หรือเลื่อยมือ แล้วแกะเนื้อไม้เอาส่วนที่ไม่ต้องการออกให้ไม้นั้นมีลักษณะรูปร่างที่ใกล้เคียงกับแบบเพื่อให้เกิดรูปทรงตามต้องการหลังจากนั้นเป็นการลงรายละเอียดของลาย ช่างแกะสลักจะใช้สิ่วที่มีความคม มีขนาดและหน้าของสิ่วต่าง ๆ และค้อน เป็นเครื่องมือในการแกะสลัก เพื่อทำให้เกิดลวดลาย ซึ่งต้องใช้ค้อนไม้ในการตอกและใช้สิ่วทำการขุด การปาดและการแกะลวดลายทำให้เกิดความงามตามรูปแบบที่ต้องการ โดยการดอกสิ่วเดินเส้น โดยใช้สิ่วที่พอดีกับเส้นรอบนอกของตัวลาย เพื่อเป็นการคัตโคมของลวดลายส่วนใหญ่ทั้งหมดก่อนโดยใช้ค้อนตอก เวลาตอกก็ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม สม่ำเสมอเพื่อคมสิ่วจะได้จมลึกในระยะที่เท่ากันแล้วจึงทำการใช้สิ่วหน้าตรง ขุดพื้นที่ไม่ใช่ตัวลายออกให้หมดเสียก่อน ในการขุดชั้นแรกนั้นช่างแกะสลักจะขุดเนื้อไม้ไม่ลึกมาก ถ้าพื้นยังไม่ลึกพอก็ตอกช้ำอีกแล้วจึงขุดต่อไปเพื่อให้ได้ช่องไฟที่โปร่ง ถ้าต้องการนำลวดลายแกะสลักนั้นไปประดับในที่สูงก็ต้องขุดพื้นให้ลึกพอประมาณ การแกะยกขึ้น หลังจากที่ทำการขุดพื้นแล้วก็แกะยกชั้น จัดตัวลายที่ข้อนชั้นกันเพื่อให้เห็นลายขัดเจน การแกะแรลาย เริ่มจากการตอกสิ่วเดินสายภายในส่วนรายละเอียดของลวดลายแล้ว ก็จะใช้สิ่วเล็บมือทำการปาดแกะแรลายเก็บแต่งส่วนรายละเอียด ในการปาดแรตัวลาย เวลาปาดหรือแกะแรตัวลาย ช่างจำเป็นต้องดูทางของเนื้อไม้หรือเสี้ยนเมื่อเวลาใช้สิ่วก็ต้องปาดไปตามทางของเนื้อไม้ คือ ไม้ย้อนเสี้ยนไม้หรือสวนทางเดินของเนื้อไม้ เพราะจะทำให้ไม้นั้นหลุดและบิ่นได้ง่าย การปาดแต่งแรลาย คือ การตั้งสิ่วเผล้เอียง ข้างหนึ่ง จากข้างหนึ่ง แล้วปาดเนื้อไม้ออกจะเกิดความสูงต่ำไม่เสมอกัน เพื่อทำให้เกิดแสงเงาในตัวลายและมองเห็นให้ชัดเจนตามรูปแบบที่ต้องการโดยที่การปาดลายสามารถ ปาดแบบช้อนลายปาดแบบพนมเส้น คือ พนมเส้นตรงกลาง และปาดแบบลบหลังลาย หลังจากมีการแต่งเส้นเดินลายแล้ว ถ้างานขึ้นนั้นต้องการลงรักปิดทองจะมีการนำเอาทองคำเปลวมาตกแต่งขึ้นงาน โดยจะนำยางต้นรักมาทาที่ชั้นงานแกะสลักหรือลงสีที่เรียกว่าสีเฟลค และติดทองคำเปลว หลังจากนั้นถ้าต้องการเพิ่มความสวยงามอาจมีการติดกระจกเป็นการติดกระจกสำหรับงานแกะสสักที่ต้องการใช้กระจกเพื่อประดับความสวยงาม ซึ่งจะใช้กาวติดกระจกโดยเฉพาะ โดยกระจกที่นำมาติดจะมีรูปร่างหลากหลาย มีการตัดให้บางและสามารถหักได้ด้วยมือ ซึ่งช่างผู้ทำการติดกระจกจะทำการหักกระจกเป็นรูปทรงต่าง ๆ เช่น วงรี วงกลม แปดเหลี่ยม หรือสี่เหลี่ยม โดยมักจะใช้สำหรับงานแกะสลักไม้สำหรับการตกแต่ง เช่น ขันโดก ตู้ เป็นต้น



เครื่องมือ/อุปกรณ์ที่ใช้ในการแกะสลักประกอบด้วย อุปกรณ์ที่ใช้ในการเตรียมไม้ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการแกะสลักไม้ งานวิจัยฉบับนี้จะกล่าวถึงเฉพาะการแกะสลักไม้โดยใช้ช่างแกะสลักเท่านั้น โดยอุปกรณ์ที่ใช้ในแกะสลัก ได้แก่
1. เลื่อยไฟฟ้า ใช้ในการเตรียมไม้โดยใช้ในการเตรียมไม้ ขึ้นรูปไม้ มักใช้ในกรณีแกะสลักไม้ขนาดใหญ่
2. มีด และขวาน มีทั้งมีดเล็กปลายแหลมและมีดใหญ่ และขวาน เพื่อใช้ในการปรับแต่งไม้หลังจากปรับจากเลื่อยไฟฟ้า
3. เลื่อย ใช้ในการเสื่อยไม้ส่วนที่ไม่ต้องการออกไป เพื่อขึ้นรูปหรือขึ้นโครงของงานแกะสลักช่างแกะสลักมักใช้เสื่อยไฟฟ้าสำหรับขั้นโครงงานแกะสลักขึ้นใหญ่ เช่น ช้าง เป็นต้น และมีการใช้เลื่อยฉลุตกแต่งงานไม้
4. ค้อน ช่างแกะสลักไม้จะใช้ค้อนไม้ ไม่ใช้ค้อนเหล็ก เนื่องจากมีน้ำหนักเบา เวลาแกะสลักจะสามารถควบคุมแรงและน้ำหนักเวลาใช้ดอกสิ่วได้ ช่วยให้การแกะสลักไม้สามารถควบคุมลายได้ง่าย ไม่เปลืองแรง ไม่เมือยแขน อีกทั้งการใช้ค้อนไม้ตอกสิ่วยังช่วยรักษาด้ามสิ่วไม่ให้บาน เป็นการถนอมด้ามสิ่วด้วย
5. สิ่ว เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่างแกะสลักไม้ใช้ในการแกะสลัก สิ่วมีหลายชนิด สามารถแบ่งได้จากลักษณะของปลาย ได้แก่ ปลายแบนปลายโค้ง (สิ่วโค้งแคบ สิ่วโค้งท้องแบน) สิ่วฉาก สิ่วขมวด สิวเล็บมือ และปลายตัววี ซึ่งแต่ละแบบนั้นมีหลายขนาดตั้งแต่ตัวใหญ่ (หน้าตัดมีขนาดใหญ่) ซึ่งใช้ในการแกะสลักโครง ถากเนื้อไม้ในช่วงแรก ไปจนถึงตัวเล็กที่ใช้ในการแกะลวดลายสิ่วของแต่ละพื้นที่จะมีลักษณะที่แตกต่างกันในส่วนของด้ามสิ่ว หรือลักษณะโดยรวม แต่หน้าตัดของสิ่วจะไม่แตกต่างกัน ช่างแกะสลักไม้ที่มีประสบการณ์มีสิ่วที่ใช้ในการแกะสลักถึง 40-50 ขึ้น สิ่วที่ช่างแกะสลักไม้เลือกใช้เป็นสิ่วที่ดีขึ้นจากเหล็กแหนบรถยนต์ ซึ่งเป็นเหล็กที่มีความแข็งแรงคงทน
6. อุปกรณ์ในการปรับหน้าไม้ ผิวไม้ หรือเนื้อไม้ เช่น เครื่องกลึงไม้ สว่านเจาะไม้ กระดาษทราย (ทั้งกระดาษทรายหยาบ และละเอียด) กบ เหลา ตะไบ
7. อุปกรณ์อื่นๆ เพื่อใช้ในการปรับ หรือ ตกแต่งไม้ ได้แก่ ไม้บรรทัด ดินสอ กระดาษลอกลาย กระตาษแข็งทำแบบ ปากกาเขียนไม้วัสดุตกแต่ง ได้แก่ ดินสอพอง แลกเกอร์ แชลแลกน้ำมันลินสึด ทินเนอร์ หรือสีทาไม้และแท่นยืดสำหรับจับไม้เวลาแกะสลัก