ทุนวัฒนธรรม ลำดับที่ 12: พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

     พระมหาวีรกษัตริย์ของไทย  ที่ทรงนำทัพออกศึกสงคราม ต่อสู้กับอริราชศัตรูผู้รุกรานผืนแผ่นดินไทย เพื่อปกป้องอธิบไตยป้องกันชีวิตทรัพย์สินของไพร่ฟ้าประชาชน นับแต่อดีตจวบจนปัจจุบันนั้น พระมหากษัตริย์ที่เป็นที่เทิดทูน และจดจำจารึกในหัวใจคนไทยมากที่สุด คือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ด้วยทรงกอบกู้เอกราช เกียรติยศ และศักดิ์ศรีของชาติไทย เป็นพระมหากษัตริย์นักรบที่องอาจแกล้วกล้า มีพระปรีชาสามารถทางการรบเป็นเลิศ ตลอดพระชนม์ชีพ    ทรงทุ่มเทพระวรกาย และกำลังพระสติปัญญา เพื่อความมั่นคงอยู่รอดปลอดภัยของพระราชอาณาจักร หลังจากชัยชนะในสงครามยุทธหัตถี พระกฤษฎานุภาพแผ่ไพศาลทั่วทุกทิศานุทิศ เป็นที่ควั่นความยำเกรง   ของป่วงข้าศึกศัตรู ปกป้องแผ่นดิน และแดนไทย ให้สามารถอยู่อย่างสงบสุขปลอดพ้นจากศึกสงคราม   นานกว่าร้อยปี ชาวไทยทั้งมวลทุกยุคทุกสมัยล้วนเทิดทูนพระองค์ และพร้อมใจกันถวายพระราชสมัญญา มหาราช แต่พระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่พระองค์นี้ ยิ่งไปกว่านั้น สมเด็จพระนเรศวรมหาราชยังทรงเป็นแบบอย่างของทหารหาญ ที่ทหารไทยยึดถือเป็นสรณะประจำใจอีกด้วยดังนั้น จึงถือเป็นสิริมงคลยิ่งที่กองบัญชาการทหารสูงสุด   ได้มีโอกาสดำเนินการ เพื่อเทิดทูนพระเกียรติยศ และแสดงความจงรักภักดี สนองเบื้องพระยุคลบาท    ด้วยการจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชถึง 2 แห่ง แห่งแรกเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ขณะทรงอาชาศึก จัดสร้างขึ้น ณ ทุ่งภูเขาทองจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อีกแห่งหนึ่งเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ขณะทรงพระคชาธารศึก จัดสร้างขึ้นสำหรับประดิษฐานที่หน้ากองบัญชาการทหารสูงสุด กรุงเทพฯ

     พระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชปรารภเรื่อง การสร้างอนุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัยกับประธานรสช.  (พลเอกสุนทร คงสมพงษ์) และปลัดกระทรวงมหาดไทย (นายเจริญจิตต์ ณ สงขลา ต่อมาเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยด้วย) และปรากฏว่าต่อมาเจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทย ได้ไปพบอธิบดีกรมศิลปากร ปรึกษาเกี่ยวกับขั้นตอนวิธีการสร้าง และทบทวนข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ และได้มีการประชุมคณะกรรมการหลายครั้ง จนกระทั่งโครงการก่อสร้างพระราชนุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย ณ ทุ่งมะขามหย่อง และทุ่งภูเขาทอง  ก็ก้าวหน้าไป โดยจะมีการก่อสร้างอนุสาวรีย์ในพื้นที่ 200 ไร่ บริเวณโดยรอบจะเป็นแหล่งกักเก็บน้ำ ในปริมาณกว้างขวางเพื่อป้องกันน้ำท่วม และเพื่อรักษาบริเวณทุ่งภูเขาทองกับทุ่งมะขามหย่องไว้ เป็นแหล่งประวัติศาสตร์ เตือนความทรงจำสำนึก และให้ความรู้แก่คนไทยเกี่ยวกับภัยสงคราม และวีรกรรม  ที่สมเด็จพระสุริโยทัย ได้ทรงประกอบด้วยความกล้าหาญ เสียสละ เพื่อปกป้องรักษาเอกราชของชาติ   และเป็นเครื่องเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในมหามงคลสมัยที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษาใน พ.ศ. 2435 ด้วย ทั้งนี้รัฐบาลได้รับเป็นภาระในเรื่องนี้ โดยได้จัดสรรงบประมาณประมาณ 270 ล้านบาท เป็นค่าก่อสร้าง และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์ก่อสร้าง ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2534 การก่อสร้างใช้เวลาประมาณ 3 ปี

รูปแบบพระบรมราชานุสาวรีย์

     พระบรมรูปหล่อด้วยทองเหลืองรมดำ ขนาด 3 เท่าของพระองค์จริง แท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์เป็นฐาน 2 ชั้น รอบแท่นฐานชั้นที่ 2 ติดภาพจำหลักนูนต่ำ เล่าเรื่องพระราชประวัติ และพระมหาวีรกรรมครั้งต่างๆเพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา และรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณสืบไป ขนาดพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบรมรูป สูง 5.45 เมตร ม้าทรงสูง 6.64 เมตร (วัดถึงหู) กว้าง 8.50 เมตร (วัดจากปากถึงปลายหาง) แท่นฐานรองรับม้าสูง 85 เซนติเมตร (วัดจากพื้น) รวมความสูงพระบรมราชานุสาวรีย์ 9 เมตร

Scroll to Top