ทุนวัฒนธรรม ลำดับที่ 9: วิหารแกลบ
วิหารแกลบ (โบราณสถานหมายเลข 8) ตั้งอยู่ข้างอุโบสถทางด้านทิศใต้ กว้าง 6 เมตร ยาว 11.75 เมตร ผนังสูง 3 เมตร หันหน้าไป ทางทิศตะวันตก หรือต้านหน้าวัต มีประตูทางเข้า 1 ช่อง มีช่องหน้าต่างด้านข้างด้านละ 1 ช่อง จากรูปแบบของวิหารที่ทำหน้าต่างด้านละ 1 ช่อง ทำให้เชื่อว่าเป็นความนิยมในการสร้างในสมัยอยุธยาตอนกลาง ซึ่งรูปแบบจะแตกต่างไปจากสมัยอยุธยาตอนต้นที่ทำด้านข้างเป็นช่องลมยาว หรือในสมัยอยุธยาตอนปลายที่ทำหน้าต่างหลายช่อง
นอกจากนี้หลักฐานจากการขุดตรวจทางโบราณคดีพบว่าทางต้านทิศเหนือของอุโบสถมีฐาน อาคารอีกหลังหนึ่ง ซึ่งคงมีลักษณะคล้ายวิหารหมายเลข – สองข้างอุโบสถจึงขนาบด้วยวิหาร ลักษณะที่สมดุลกันทั้งสองข้างนี้ทำให้สันนิษฐานไต้ว่า อุโบสถหลังเดิมและวิหารทั้งสองหลังสร้างขึ้นพร้อมกันในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22 (กรมศิลปากร สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 3 พระนครศรีอยุธยา, 2545).
วิหารแกลบ คือ วิหารขนาดเล็กมาก ภายในวิหารมีพื้นที่ขนาดพอรับรองพระภิกษุนั่งได้เพียงรูปเดียว วิหารแกลบใช้เป็นสถานที่สำหรับพระภิกษุเจริญกัมมัฏฐาน




บันไดวิหารแกลบ
แท่นบันไดก่ออิฐสอปูนกว้าง 1.5 เมตร อยู่ด้านทิศตะวันออกของอาคาร เหลือร่องรอยเสาหัวเม็ด บันไดมีผิวปูนฉาบติดอยู่บางส่วน จากหลักฐานที่ปรากฏอยู่ พบว่าบันไดวิหารแกลบมีจำนวน 3 ขั้น อยู่ในสภาพชำรุดหลุดหาย เหลือหลักฐานปูนฉาบปรากฏอยู่ด้านทิศใต้ของบันไดเท่านั้น (ห้างหุ้นส่วนจำกัด 66 ผู้สร้าง 2009, 2562)


